สารจากคณะกรรมการบริษัท
บริษัท เอ.เบสท์ อินเตอร์ โปรดักส์ จำกัด และ บริษัทในเครือได้ตระหนักถึงความสําคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดีโดยเชื่อมั่นว่า การกํากับดูแลกิจการที่ดีจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาว เพราะจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยตลอดระยะเวลาที่ดําเนินธุรกิจมา บริษัทฯ ได้ยึดมั่นในพันธะสัญญาที่มีต่อผู้เสียอย่างเคร่งครัด ภายใต้วิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีความโปร่งใส และความจริงใจ รวมถึงให้ความเคารพต่อกติกาของกฎหมายอันมีจุดมุ่งหมายจะสร้าง และคงไว้ซึ่งความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
บริษัทฯ ได้จัดทำคู่มือจรรยาบรรณธุรกิจไว้เป็นมาตรฐานเบื้องต้นเพื่อสื่อสารให้กับคณะบริหาร และพนักงานได้รับทราบ และตระหนักถึงความสําคัญ รวมทั้งให้เป็นแนวทางที่จะสามารถใช้เป็นหลักในการพิจารณาความเหมาะสมของพฤติกรรมที่อาจเสี่ยงต่อการขัดจรรยาบรรณ ซึ่งในบางครั้งอาจมิได้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะ และเป็นเครื่องเตือนให้พนักงานระมัดระวัง ป้องกันไม่ให้กระทําการใด ๆ ที่เป็นการละเมิดกฎระเบียบ ข้อบังคับที่นํามาซึ่งความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของบริษัทฯ และเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ
วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัฒนธรรมองค์กร
วิสัยทัศน์องค์กร ( Vision) เราจะเป็นผู้นำในการผลิตงานบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางครบวงจรเป็นอันดับ 1-3ในประเทศ และจะเป็นบริษัทที่ผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีคุณภาพชั้นสูงในอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ
พันธกิจ (Mission) พัฒนาคุณภาพสินค้า และบริการอย่างต่อเนื่องเพี่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า, ใส่ใจความต้องการและข้อกำหนดของลูกค้า และพัฒนา กระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
วัฒนธรรมองค์กร (Culture) การผลิตสินค้า และบริการที่มีคุณภาพ ภายใต้ความปลอดภัยใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมส่งมอบตรงเวลา เป็นที่พึงพอใจของลูกค้าและมุ่งพัฒนาสู่สากล
คำจำกัดความและความหมาย
จริยธรรม หมายถึง สิ่งควรประพฤติอันดีงามที่ควรปฏิบัติที่ได้ยึดถือจนเป็นความเคยชิน อันเป็นคุณลักษณะ หรือพฤติกรรมที่ดีงาม เป็นที่ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
จรรยาบรรณ หมายถึง หลักความประพฤติปฏิบัติอันเหมาะสมซึ่งแสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรม ที่พึงปฏิบัติ ในการประกอบวิชาชีพที่บุคคลในแต่ละวิชาชีพได้ประมวลขึ้นเป็นหลักเพื่อยึดปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นถึงการปลูกฝัง และเสริมสร้างให้มีจิตสํานึกเกิดขึ้นในตนเองเกี่ยวกับการ ประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกต้องและมุ่งหวังให้ยึดถือเพื่อรักษาชื่อเสียงและสงเสริม
เกียรติคุณของตนและองค์กร
บริษัทฯ หมายถึง บริษัท เอ.เบสท์ อินเตอร์โปรดักส์ จำกัด และ บริษัทในเครือ
กรรมการ หมายถึง กรรมการบริษัท เอ.เบสท์ อินเตอร์โปรดักส์ จำกัด และ บริษัทในเครือ
ฝ่ายบริหาร หมายถึง ฝ่ายบริหารบริษัท เอ.เบสท์ อินเตอร์โปรดักส์ จำกัด และ บริษัทในเครือ ยึดถือตั้งแต่ระดับผู้ช่วยผู้จัดการ, ผู้จัดการ และกรรมการบริษัท
พนักงาน หมายถึง พนักงานบริษัท เอ.เบสท์ อินเตอร์โปรดักส์ จำกัด และ บริษัทในเครือ ทั้งพนักงานประจำ และพนักงานชั่วคราว
บุคคลที่ หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวกับกรรมการ ฝ่ายบริหาร และพนักงาน ที่อาจมีความเกี่ยวข้องกับการขัดแย้งเกี่ยวโยง หรือได้รับผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทอันเป็นสำคัญ
ส่วนที่ 1
จรรยาบรรณ
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับคู่มือจรรยาบรรณธุรกิจ มีดังต่อไปนี้
1. ผู้ที่มีหน้าที่ต้องถือปฏิบัติตามคู่มือจรรยาบรรณธุรกิจนี้
1.1 กรรมการ
1.2 ฝ่ายบริหาร
1.3 พนักงาน
2. ผู้ที่มีส่วนได้เสียที่ กรรมการ ฝ่ายบริหารและพนักงานมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ
2.1 บริษัทฯ
2.2 พนักงาน
2.3 ลูกค้า
2.4 คู่ค้า
2.5 คู่แข่งทางการค้า
2.6 เจ้าหนี้การค้า
2.7 เจ้าหนี้สถาบันการเงิน
2.8 หน่วยงานกำกับดูแล
2.9 สังคม สิ่งแวดล้อม และการศึกษา
กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน มีหน้าที่ต้องถือปฏิบัติตามคู่มือจรรยาบรรณธุรกิจ ที่บริษัทฯ กําหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ โดยจรรยาบรรณดังกล่าว จะครอบคลุมถึงผู้มีหน้าที่ต้องถือปฏิบัติและความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ปรากฏตามตารางข้างล่างนี้
จรรยาบรรณที่ต้องถือปฏิบัติเพื่อรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย |
ผู้มีหน้าที่ต้องถือปฏิบัติตามจรรยาบรรณ |
||
กรรมการ |
ฝ่ายบริหาร |
พนักงาน |
|
บริษัทฯ |
√ |
√ |
√ |
พนักงาน |
√ |
√ |
√ |
ลูกค้า |
√ |
√ |
√ |
คู่ค้า |
√ |
√ |
√ |
คู่แข่งทางการค้า |
√ |
√ |
√ |
เจ้าหนี้การค้า |
√ |
√ |
√ |
เจ้าหนี้สถาบันการเงิน |
√ |
√ |
√ |
หน่วยงานกำกับดูแล |
√ |
√ |
√ |
สังคม สิ่งแวดล้อม และการศึกษา |
√ |
√ |
√ |
รายละเอียดจรรยาบรรณต่อผู้มีส่วนได้เสียที่กรรมการ ฝ่ายบริหาร และพนักงาน ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบตามตารางข้างต้น
1.จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อบริษัทฯ
1.1 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ โดยถือประโยชน์ของบริษัทเป็นสําคัญ
1.2 ไม่พึงประกอบการ หรือดําเนินการใด ๆ อันเป็นการแข่งขันหรืออาจก่อให้เกิดการแข่งขันกับกิจการของบริษัท
1.3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
1.4 รับผิดชอบในการใช้และรักษาทรัพย์สินของบริษัทให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งไม่นําไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือผู้อื่นที่นอกเหนือจากธุรกิจของบริษัท
1.5 ปฏิบัติงานโดยใช้ความรู้และประสบการณ์อย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัทอย่างเต็มที่
1.6 ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆของบริษัทอย่างเคร่งครัด
1.7 หลีกเลี่ยงการใช้อํานาจหน้าที่ของตน หรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ของตน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อแสวงหาประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น
1.8 หลีกเลี่ยงการรับเลียงในลักษณะที่เกินกว่าความสัมพันธ์ปกติจากบุคคลอื่นที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับงานของบริษัท
1.9 หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นต่อบุคคลภายนอกในเรื่องที่อาจกระทบกระเทือนต่อชื่อเสียง และการดําเนินงานของบริษัท
1.10 ไม่ใช้ข้อมูลหรือข่าวสารอันเป็นสาระสําคัญของบริษัท เพื่อแสวงหากําไร หรือผลประโยชน์อื่น ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และรักษาความลับของบริษัท โดยดูแลและระมัดระวังมิให้เอกสารหรือข่าวสารอันเป็นความลบของบริษัทที่ไม่พึงเปิดเผยแก่บุคคลภายนอก โดยถือปฏิบัติตามนโยบายการรักษาความลับของข้อมูลบริษัทฯ และนโยบายการเปิดเผยข้อมลของบริษัทฯ ซึ่งปรากฏในส่วนที่2 ของคู่มือนี้อย่างเคร่งครัด
1.11 แจ้งเบาะแส หรือร้องเรียน เมื่อพบเห็นเบาะแสการกระทําผิดกฎหมาย จรรยาบรรณ หรือพฤติกรรม ที่สื่อถึงทุจริต หรือประพฤติมิชอบของบุคคลในองค์กรทั้งจากพนักงานและผู้ที่มีส่วนได้เสียอื่น รวมถึงรายงานทางการเงินที่ไม่ถูกต้อง หรือระบบควบคุมภายในที่บกพร่อง เพื่อประโยชน์ของบริษัทเป็น สําคัญ โดยถือปฏิบัติตามนโยบายการรับเรื่องร้องเรียนของบริษัทฯ ซึ่งปรากฏในส่วนที่ 2 ของคู่มือนี้อย่างเคร่งครัด
2. จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อพนักงาน
2.1 ให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรม เหมาะสม และจัดให้มีสวัสดิการที่เพียงพอ และสอดคล้องกับสถานการณ์แก่พนักงาน และห้ามไม่ให้มีแรงงานบังคับหรือแรงงานเด็กต่ำกว่าอายุ 18 ปี
2.2 ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมการทํางานให้มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของพนักงานอยู่เสมอ
2.3 ให้ความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติทั้งต่อการจ้างงาน หรือกีดกันการทำงาน โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา สีผิว แหล่งกำเนิด อายุ เพศ ความทุพพลภาพ หรือปัจจัยอื่น ๆ ทั้งทางกายและวาจา
2.4 การแต่งตั้งโยกย้าย พนักงานรวมถึงการให้รางวัลและการลงโทษพนักงานต้องกระทําด้วยความเสมอภาค สุจริตใจและตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ ความสามารถ และเหมาะสม
2.5 ให้ความสําคัญต่อการพัฒนาการถ่ายทอดความรู้ความสามารถของพนักงานโดยให้โอกาสพนักงานอย่างทั่วถึงและสมํ่าเสมอ
2.6 จัดให้มีการอบรมสัมมนาอย่างสม่ำเสมอเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการทํางานของพนักงาน
2.7 รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จากพนักงานทุกระดับ อย่างเท่าเทียม และเสมอภาค โดยเปิดช่องทางให้พนักงานได้ชี้แจงหรือ ร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทําผิด เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการทํางาน หรือการตัดสินใจของพนักงาน โดยถือปฏิบัติตามนโยบายการรับเรื่องร้องเรียนของบริษัทฯ ซึ่งปรากฏในส่วนที่ 2 ของคู่มือนี้
3.จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อลูกค้า
3.1 ปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรมในเรื่องสินค้าและการให้บริการ
3.2 เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการอย่างถูกต้องและครบถ้วน
3.3 รักษาข้อมูลความลับและสารสนเทศของลูกค้า
3.4 ให้ความรู้ต่อลูกค้า เพื่อพัฒนาสินค้าและการให้บริการ
3.5 จัดให้มีช่องทางเพื่อให้ลูกค้าสามารถร้องเรียน เกี่ยวกับสินค้าและบริการ โดยถือปฏิบัติตามนโยบายการรับเรื่องร้องเรียนของบริษัทฯ ซึ่งปรากฏในส่วนที่ 2 ของคู่มือนี้
4. จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อคู่ค้า
4.1 ปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างเสมอภาคเป็นธรรม และตั้งอยู่บนฐานของการได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย
4.2 ปฏิบัติตามสัญญาหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้จะรีบแจ้งให้คู่ค้าทราบ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขร่วมกันทันที
5. จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อคู่แข่งทางการค้า
5.1 การแข่งขันต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนด และจรรยาบรรณ ขององค์กร
5.2 ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งทางการค้า ด้วยวิธีการที่ไม่สุจริต หรือไม่เหมาะสม
5.3 ผู้บริหารและพนักงานทุกคน ไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้า
5.4 ไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของคู่แข่ง
6. จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้การค้า
6.1 ปฏิบัติต่อเจ้าหนี้การค้าอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และตั้งอยู่บนพื้นฐานของการได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย
6.2 ปฏิบัติตามสัญญาหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้จะรีบแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขร่วมกันทันที
7. จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้สถาบันการเงิน
7.1 ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัตถุประสงค์การใช้เงิน การชําระคืน และเรื่องอื่นใดที่ได้ให้ข้อตกลงไว้
7.2 ปฏิบัติกับเจ้าหนี้สถาบันการเงินทุกรายอย่างทัดเทียมกัน
7.3 รายงานฐานะและข้อมลการเงินของบริษัทฯ ด้วยความถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ
8. จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อหน่วยงานกำกับดูแล
8.1 ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่ออกโดยหน่วยงานที่กํากับดูแลบริษัท ฯ อย่างเคร่งครัด
8.2 ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่กํากับดูแลบริษัทฯ และรายงานข้อมูลที่เกี่ยวกบการฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎระเบียบต่าง ๆ ต่อหน่วยงานนั้น ๆ
9. จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมโดยเน้นเรื่อง สิ่งแวดล้อม และการศึกษา
9.1 ไม่กระทำการใด ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อความเสียหายของสิ่งแวดล้อมและสังคม
9.2 ปลูกจิตสํานึกเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นกับพนักงานทุกระดับ
9.3 ส่งเสริมการใช้และการอนรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
9.4 ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพสังคมโดยเน้นด้านการศึกษาและสิ่งแวดล้อม
ส่วนที่ 2
นโยบายที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสะดวกแก่ กรรมการ ฝ่ายบริหาร และพนักงานในการปฏิบัติงานให้เป็นไปภายใต้กรอบ ของกฎหมาย รวมถึงระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ และสอดคล้องกับหลักจรรยาบรรณธุรกิจ บริษัทฯ จึงกําหนดนโยบาย ให้กรรมการ ฝ่ายบริหาร และพนักงาน ถือปฏิบัติเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างโปร่งใส เป็นธรรม มีความชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้โดยมีรายเอียดดังต่อไปนี้
นโยบายที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
1. นโยบายการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ทางธุรกิจ
2. นโยบายการปฏิบัติและการแข่งขันในธุรกิจการค้าอย่างเป็นธรรม
3. นโยบายเกี่ยวกับการรับหรือให้ของขวัญ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด
4. นโยบายรักษาข้อมูลที่เป็นความลับและทรัพยากรของบริษัท
5. นโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
6. นโยบายการรับเรื่องร้องเรียน
7. นโยบายการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
8. นโยบายการปฏิบัติต่อสังคม ชุมชน และส่วนรวม
9. นโยบายด้านสุขภาพอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ในการทำงานของพนักงาน
10. นโยบายการติดตามดูแลให้มีการปฏิบัติ และการลงโทษ
นโยบายดังกล่าวข้างต้น จะครอบคลุมถึงผู้มีที่ต้องปฏิบัติตามปรากฏตามตารางข้างล่างนี้
จรรยาบรรณที่ต้องถือปฏิบัติเพื่อรับผิดชอบ ต่อผู้มีส่วนได้เสีย |
ผู้มีหน้าที่ต้องถือปฏิบัติตามจรรยาบรรณ |
||
กรรมการ |
ฝ่ายบริหาร |
พนักงาน |
|
นโยบายการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ทางธุรกิจ |
√ |
√ |
√ |
นโยบายการปฏิบัติและการแข่งขันในธุรกิจการค้าอย่างเป็นธรรม |
√ |
√ |
√ |
นโยบายเกี่ยวกับการรับหรือให้ของขวัญ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด |
√ |
√ |
√ |
นโยบายรักษาข้อมูลที่เป็นความลับและทรัพยากรของบริษัท |
√ |
√ |
√ |
นโยบายการต่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น |
√ |
√ |
√ |
นโยบายการรับเรื่องร้องเรียน |
√ |
√ |
√ |
นโยบายการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร |
√ |
√ |
√ |
นโยบาย การปฏิบัติต่อสังคม ชุมชน และส่วนรวม |
√ |
√ |
√ |
นโยบายการติดตามดูแลให้มีการปฏิบัติ และการลงโทษ |
√ |
√ |
√ |
1.นโยบายการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ทางธุรกิจ
กรรมการบริหาร ฝ่ายบริหาร พนักงาน และตัวแทนของบริษัท ต้องหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ดูเหมือนว่าจะเกิดความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ของบริษัท ในการติดต่อทาธุรกิจกับผู้ขายสินค้า ลูกค้า และบุคคลอื่น ๆ ที่ทำธุรกิจกับบริษัท ข้อกำหนดนี้ผลบังคับใช้ทั้งในความสัมพันธ์เชิงธุรกิจและความสัมพันธ์ส่วนตัว หลักปฏิบัติของบริษัทที่ควบคุมเรื่องความขัดแย้งทางผลประโยชน์มีแนวทางโดยเฉพาะเกี่ยวกับการปฏิบัติในประเด็นหลักต่าง ๆ ต่อไปนี้
1.1 กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน และตัวแทนของบริษัท พึงหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ อันเป็นการขัดต่อผลประโยชน์กับบริษัทไม่ว่าจะเกิดจากการติดต่อกับผู้เกี่ยวข้องทางการค้าของบริษัท หรือจากการใช้โอกาส หรือข้อมูลที่ได้จากการเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงาน ในการหาประโยชน์ส่วนตน หรือในเรื่องการทำธุรกิจที่แข่งขันกับบริษัท หรือการทำงานอื่นนอกเหนือ จากงานบริษัทฯ
1.2 พนักงานพึงยืดหลักการทำในสิ่งที่ถูกต้องเป็นธรรม ถูกกฎหมาย ไม่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่น ได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ หรือมีเจตนาให้บุคคลอื่นเสียหาย
1.3 กรรมการบริหาร ฝ่ายบริหาร พนักงาน และตัวแทนของบริษัท มีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนได้เสียของตน และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริษัทสามารถ พิจารณาธุรกรรมของบริษัทฯ ที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และสามารถตัดสินใจเพื่อประโยชน์ของบริษัทโดยรวม
2.นโยบายการปฏิบัติและการแข่งขันในธุรกิจการค้าอย่างเป็นธรรม
บริษัทฯ ต้องแข่งขันตามวิถีทุนนิยมเสรี ในการทำธุรกิจการแข่งขันย่อมต้องดำเนินไปอย่างเป็นธรรมไม่บิดเบือนข้อมูล หลอกลวง หรือใช้วิธีอื่นใดที่ไม่ถูกต้องตามครรลองของการแข่งขันที่ดี ในบางครั้ง บริษัทฯ มีความจำเป็นต้องร่วมมือกับคู่แข่งทางการค้า ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวต้องเป็นไปอย่างโปร่งใสไม่มีการปกปิดข้อตกลงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2.1การดำเนินธุรกิจจะต้องคำนึงถึงการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ไม่ใส่ร้ายป้ายสี ไม่โจมตีคู่แข่ง โดยปราศจากข้อมูลอย่างสมเหตุสมผล
2.2 ความร่วมมือระหว่างบริษัทฯ กับบริษัทคู่แข่งจะต้องมิใช่เป็นไปเพื่อการผูกขาดการ จัดสรรรายได้และส่วนแบ่งการตลาด การลดคุณภาพของสินค้าและบริการ และการกำหนดราคาสินค้าและบริการอันจะก่อให้เกิดผลเสียต่อลูกค้าโดยภาพรวม
2.3 บุคลากรของบริษัทฯ ต้องระมัดระวังในการติดต่อกับคู่แข่งและบุคลากรของคู่แข่งทุกกรณี ไม่เปิดเผยหรือละเลยให้ความลับของบริษัทฯ ตกอยู่ในมือของคู่แข่ง
2.4 บริษัทฯ ต่อต้านการใช้แร่ธาตุแห่งความขัดแย้งในการผลิต และไม่สนับสนุนคู่ค้า หรือพันธมิตร ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้แร่ธาตุแห่งความขัดแย้งในการผลิต
3. นโยบายเกี่ยวกับการรับหรือให้ของขวัญ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด
คำว่า “ของขวัญทางธุรกิจ” หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่มีมูลค่าที่ให้หรือได้รับอันเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ทางธุรกิจ และผู้รับ ไม่ได้จ่ายเงินตามมูลค่าตลาด ของขวัญอาจอยู่ในรูปแบบใดก็ได้ ตัวอย่างเช่น อาหาร บัตรชมภาพยนตร์คอนเสิร์ต ละคร เวทีหรือกีฬา ส่วนลด หรือการเดินทางที่ “ออกค่าเดินทางให้ทั้งหมด” ของแจกเพื่อการส่งเสริมการขาย และค่าสนามกอล์ฟ เป็นต้น ทั้งหมดนี้สามารถถือได้ว่าเป็นของขวัญทางธุรกิจทั้งสิ้น การให้และการรับของขวัญหรือของกำจะไม่ได้รับอนุญาต หาก:
-
ขัดต่อกฎหมายหรือกฎข้อบังคับ
-
ขัดต่อนโยบายที่เข้มงวดกว่าของบริษัท
-
ขัดต่อนโยบายอันเป็นที่ทราบ ของผู้ว่าจ้างของผู้รับของขวัญนั้น หรือ
-
มีจุดประสงค์เพื่อการมีอิทธิพล หรือดูเสมือนว่าจะมีอิทธิพลต่อผู้รับอย่างไม่เหมาะสม
บริษัทฯกำหนดให้กรรมการ ฝ่ายบริหาร และพนักงานทุกส่วนฝ่าย ต้องปฏิบัติตามดังนี้
3.1 บริษัทฯ กําหนดให้การรับ หรือให้ของขวัญหรือของกํานัลหรือการแลกเปลี่ยนของกํานัล หรือการเลี้ยง หรือการรับเลี้ยง หรือการเลี้ยงตอบแทนตามธรรมเนียม ประเพณีหรือวัฒนธรรม หรือประโยชน์อื่นใด กระทําได้ในวิสัยที่สมควร หากทําด้วยความโปร่งใส หรือทําในที่เปิดเผย หรือสามารถเปิดเผยได้และต้องไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของบริษัทฯ ไม่ว่ารูปแบบใด ๆ หรือเพื่อจงใจให้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหรือการกระทําใด ๆ ที่ทําให้เกิดการยินยอมผ่อนปรนในข้อตกลงทางธุรกิจที่ผิดไปจากเงื่อนไขของบริษัทฯ
3.2 ความเหมาะสมของของขวัญทางธุรกิจนั้นส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของของขวัญนั้น โดยทั่วไปแล้วเครื่องดื่มหรืออาหารที่ รับประทานในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ และของแจกต่าง ๆ เช่น ปากกา ปฏิทิน และของแจกอื่น ๆ ที่มีตราหรือโฆษณาของ บริษัท ถือเป็นสิ่งที่เหมาะสม ถือว่าไม่เป็นปัญหาและไม่จำเป็นต้องรายงานให้แก่ผู้บังคับบัญชาทราบ
3.3 หากพนักงานได้รับของขวัญในโอกาสตามประเพณีนิยมที่มีมูลค่าเกิน 3,000 บาท จากผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจกับบริษัทฯ ให้รายงานผู้บังคับบัญชาและผู้จัดการฝ่ายนั้น ๆ รับทราบ
3.4 พนักงานที่ต้องติดต่อกับผู้ขาย (Vendor) และได้รับสินค้าเหมือนจริง และมีมูลค่าที่ผู้ขายให้มาเพื่อที่จะทดสอบ ทดลองใช้หรือเพื่อการอื่นใดก็ตาม พนักงานจะต้องแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและนําสินค้าเข้า ระบบของบริษัทฯ ก่อน และเบิกตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ซึ่งพนักงานมีหน้าที่ต้องคืน หรือติดตามคืนให้กับบริษัท
4.นโยบายรักษาข้อมูลที่เป็นความลับและทรัพยากรของบริษัท
ทุกคนในบริษัทฯ จะต้องปกป้องข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทและหุ้นส่วนทางธุรกิจของบริษัท ในการทำงานของพนักงาน พนักงานอาจได้รับข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับบริษัทของลูกค้า ผู้ขายสินค้า หุ้นส่วนทางธุรกิจหรือ ข้อมูลของบุคคลที่สาม ซึ่งเป็นความลับและมีความอ่อนไหวในเชิงการแข่งขันและ/หรือเป็นข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์
4.1 ไม่เปิดเผยข้อมูลบริษัทฯ เช่น ข้อมูลการเงิน ข้อมูลลูกค้า สัญญา แผนธุรกิจ ข้อมูลด้านทรัพยากรบุคคลการตลาด ผลิตภัณฑ์ผลการดําเนินงาน หรือข้อมูลใด ๆ ที่เป็นความลับในการดำเนินธุรกิจต่อสาธารณะ หรือข้อมูลที่มีผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจถ้าข้อมูลนั้นยังได้รับอนุมัติจากผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานกํากับดูแล
4.2 พนักงานและผู้บริหาร ต้องไม่นําข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งหมายความรวมถึงข้อมูลเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเปิดเผยต่อผู้อื่น
4.3 ไม่ว่าจะเป็นสูตรการผลิต, ส่วนผสมทางเคมี, ภาพวาดการออกแบบ, ชิ้นงานตัวอย่าง เป็นต้น และไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด ๆ พนักงานควร สันนิษฐานไว้ก่อนว่าข้อมูลเหล่านั้นเป็นความลับ และมีความอ่อนไหวในเชิงการแข่งขัน นอกเสียจากว่าพนักงานมีข้อบ่งชี้ที่แน่ชัดว่า บริษัทได้มีการอนุญาตเปิดเผยข้อมูลนี้
4.2 ให้ใช้ข้อมูลด้วยความระมัดระวังและสมเหตุสมผลเสมอเพื่อปกป้องข้อมูลที่เป็นความลับที่เกี่ยวข้องกับบริษัท หรือบริษัท อื่น ๆ พนักงานไม่ควรเปิดเผยข้อมูลทางธุรกิจที่เป็นความลับใด ๆ แก่บุคคลใดภายนอกบริษัท แม้แต่สมาชิกของครอบครัว นอกเสียจากว่าการเปิดเผยนั้น
-
ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
-
เชื่อมโยงกับความต้องการทางธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน
-
อยู่ภายใต้ข้อตกลงในการรักษาความลับที่เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งได้รับอนุมัติแล้วจากบริษัท หรือผู้มี
อำนาจ แม้แต่ภายในบริษัท และท่ามกลางเพื่อนร่วมงานของ พนักงานได้รับอนุญาตให้แบ่งปันข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบได้เท่านั้น
4.3 บริษัทให้ความไว้วางใจพนักงานในการใช้ทรัพยากรของบริษัทอย่างซื่อสัตย์และมีประสิทธิภาพทรัพยากรของบริษัท หมาย รวมถึงทรัพย์สินทางกายภาพ เช่น สิ่งปลูกสร้าง วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักรอะไหล่ วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย ยานพาหนะ ฯลฯ และยังรวมถึงสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ เช่น เวลาของบริษัท ข้อมูลที่เป็นความลับ ทรัพย์สินทางปัญญา และระบบสารสนเทศ พนักงานควรใช้ทรัพยากรของบริษัทเฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายและ ปกป้องทรัพยากรเหล่านั้นจากการถูกลักขโมย การสูญหาย การเสียหายหรือการที่ถูกใช้ในทางที่ผิด หากพนักงานทราบว่ากำลังมีการใช้ ทรัพยากรของบริษัทในทางที่ผิด ขอให้ทางพนักงานรายงานเรื่องดังกล่าวต่อ ผู้บังคับบัญชาโดยทันที
4.4 ทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทเป็นสินทรัพย์ที่ประมาณค่ามิได้ซึ่งจะต้องได้รับการปกป้องตลอดเวลาทรัพย์สินทาง ปัญญาหมายรวมถึงเครื่องหมายการค้า แบรนด์ บรรจุภัณฑ์ การออกแบบโลโก้ ลิขสิทธิ์การประดิษฐ์สิทธิบัตรและ ความลับทางการค้าของบริษัท พนักงานไม่ควรอนุญาตให้บุคคลที่สามใช้เครื่องหมายการค้าหรือทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ ของบริษัทโดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้เครื่องหมายการค้าของบริษัทไม่ควรถูกใช้ในลักษณะที่เสื่อมเสีย เป็นการหมิ่น ประมาท หรือในลักษณะที่น่ารังเกียจ
4.5 ทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทยังรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นงานของพนักงาน ในฐานะเป็นพนักงานของบริษัท งานใด ๆ ที่ พนักงานสร้างขึ้นไม่ว่าจะทั้งหมด หรือบางส่วนซึ่งเชื่อมโยงกับหน้าที่ของพนักงานและ/หรือการใช้เวลา ทรัพยากรหรือข้อมูล ของบริษัท จะถือว่าเป็นทรัพย์สินของบริษัททั้งหมด ตัวอย่างเช่นนวัตกรรม ความคิด การค้นพบ การปรับปรุง งานศิลปะ กระบวนการ การออกแบบ ซอฟต์แวร์หรือวัสดุอื่น ๆที่พนักงานอาจช่วยสร้างหรือเขียน ซึ่งเชื่อมโยงกับงานของพนักงาน พนักงานไม่ได้รับอนุญาตและจะต้องไม่เปิดเผยงาน หรือนวัตกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท โดยงานนวัตกรรม ดังกล่าวนั้นได้รับการปกป้องเช่นเดียวกันกับทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัท
5.นโยบายการต่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
“การทุจริต” โดยทั่วไปหมายถึง การได้มา หรือการพยายามในการได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนบุคคลหรือข้อได้เปรียบทาง ธุรกิจผ่านวิธีการที่ไม่เหมาะสม หรือผิดกฎหมาย การทุจริตอาจเกี่ยวข้องกับการชำระเงินหรือการแลกเปลี่ยนสิ่งมีค่าใดก็ ตามและรวมถึง การให้สินบน (การให้สินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือการให้สินบนเชิงพาณิชย์ (commercial bribery), การกรรโชก และการรับ/ให้เงินใต้โต๊ะ
5.1 กรรมการ ผู้บริหาร พนักงานของบริษัทฯ และผู้เกี่ยวข้องของบริษัทฯ จะไม่เรียกร้องดำเนินการ หรือยอมรับการทุจริตคอร์รัปชั่น เพื่อประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว เพื่อนและคนรู้จักในทุกรูปแบบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยครอบคลุมถึงทุกธุรกิจ และทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ธุรกิจของบริษัทฯ เข้าไปเกี่ยวข้อง
5.2 การตัดสินใจทางธุรกิจของพนักงานและผู้บริหารต้องไม่ได้รับอิทธิพลใด ๆจากการ ต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนเอง ด้วยความโปร่งใส อันหมายรวมถึงความพร้อมรับการ ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่จากบริษัทฯ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดเวลา
5.3 การจ่ายเงินหรือให้สิ่งของมีค่า หรือบริการ อาทิ ของขวัญ (Gift) ความบันเทิง (Entertainment) การท่องเที่ยว (Travel) ให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐ รัฐต่างประเทศ และผู้เกี่ยวข้อง ไม่ว่าโดยตรง หรือทางอ้อม เพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการ หรือละเว้นกระทำการใด ๆ อันเป็นการผิดกฎหมาย เป็นการกระทำที่ไม่สมควรปฏิบัติอย่างยิ่งทั้งนี้ รวมถึงไม่ควรส่งเสริม หรือมีส่วนร่วมให้บุคคลอื่น มีการกระทำดังกล่าวด้วย
5.4 ในการจัดซื้อ จัดจ้าง ต้องดำเนินการผ่านขั้นตอนตามระเบียบของบริษัทฯ มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
5.5 การใช้จ่ายในการเลี้ยงรับรองทางธุรกิจ และการใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการปฏิบัติตาม สัญญาทางธุรกิจสามารถกระทำได้ตามระเบียบปฏิบัติกำหนด แต่ต้องใช้จ่ายอย่างสมเหตุสมผล และมีการตรวจสอบได้
5.6 ไม่ให้คำมั่นสัญญา หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการติดสินบน หรือการทุจริตคอร์รัปชั่น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะ ดำเนินการไปเพื่อผลประโยชน์ต่อตนเอง หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้รับประโยชน์ทางธุรกิจ ที่ไม่เหมาะสม หรือมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม มาตรการนี้ให้ใช้กับการ ติดต่อกับภาครัฐ ภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจ
5.7 ไม่เสนอ หรือให้สิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ แม้จะเป็นจำนวนมาก หรือน้อยก็ตามเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐช่วยอำนวยความสะดวก หรือเพื่อให้เร่งดำเนินการ หรือให้บริการที่รวดเร็วขึ้น ซึ่งถือเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ที่ไม่เหมาะสม
5.8 หลีกเลี่ยง และไม่ให้การสนับสนุนการทำธุรกิจ/ ธุรกรรมกับบุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับการทุจริตคอร์รัปชั่น หรือมีพฤติกรรมเข้าข่ายทุจริตคอร์รัปชั่น เช่น ถูกกล่าวโทษ หรือ ถูกชี้มูลความผิด โดยหน่วยงาน
ทางการที่มีอำนาจกำกับดูแล
5.9 บริษัทฯ สนับสนุนการใช้สิทธิทางการเมืองของตนเอง ในฐานะพลเมืองดีตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมืองที่เป็นความสนใจส่วนตัวโดยใช้ทรัพย์สิน ทรัพยากร หรือเวลาในการปฏิบัติงานของบริษัทฯ โดยถือว่าการกระทำเช่นนี้ เป็นการสนับสนุนทางการเมืองที่ไม่เหมาะสม
6.นโยบายการรับเรื่องร้องเรียน
เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนหรือผู้ให้ข้อมูล ที่กระทำโดยเจตนาสุจริต บริษัทฯ จะปกปิด ชื่อ ที่อยู่ หรือข้อมูลใด ๆ ที่สามารถระบุตัวผู้ร้องเรียนหรือผู้ให้ข้อมูล และเก็บรักษาข้อมูลผู้ร้องเรียนและ ผู้ให้ข้อมูลไว้เป็นความลับ โดยจำกัดเฉพาะผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนเท่านั้น ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้
6.1 กําหนดช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ ของบริษัทฯ รวมถึง พนักงานแจ้งเบาะแส การกระทําความผิดกฎหมาย หรือ พฤติกรรมที่ส่งถึงการทุจริต หรือประพฤติมิชอบของบุคคลในองค์กร หรือร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำผิด ด้านบรรษัทบาล และจริยธรรม รวมถึง ปัญหาที่เกิดจากสินค้าและบริการ ได้ทาง
บริษัท เอ.เบสท์ อินเตอร์โปรดักส์ จำกัด
– อีเมล : hr@abest.co.th
– ไปรษณีย์ที่
หน่วยงานแผนกบุคคล
บริษัท เอ.เบสท์ อินเตอร์โปรดักส์ จำกัด เลขที่ 256 ซอยบางกระดี่ 25 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
– บริษัทฯ ได้จัดเตรียมกล่องรับความคิดเห็นไว้ให้พนักงานสามารถยื่นเรื่องร้องเรียนได้ บริเวณที่พักพนักงาน และโรงอาหาร โรงงาน1 ของบริษัทฯ
6.2 หากสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วพบว่า ข้อมูลหลักฐานที่มี มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผู้ที่ถูกกล่าวหา ได้กระทำการ ทุจริตจริง บริษัทฯ จะให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบข้อกล่าวหา และให้สิทธิ ผู้ถูกกล่าวหาพิสูจน์ตนเองโดยหาข้อมูลหรือหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อแสดงให้เห็นว่าตนเองไม่มี ส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำอันทุจริต ตามที่ถูกกล่าวหา
6.3 หากผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำการทุจริตจริง การทุจริตนั้น ถือว่าเป็นการกระทำผิดนโยบาย ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น จรรยาบรรณทางธุรกิจของบริษัทฯ จะต้องได้รับการพิจารณาโทษ ทางวินัยตามระเบียบบริษัทฯที่กำหนดไว้ และหากการกระทำทุจริตดังกล่าว เป็นการกระทำ ที่ผิดกฎหมาย ผู้กระทำผิดอาจจะต้องได้รับโทษตามกฎหมายด้วย
7. นโยบายการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
บริษัทส่งเสริมให้พนักงานใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเพื่อประโยชน์ในการทำงาน พนักงานต้องไม่กระทำการอันเป็นการรบกวนระบบคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตของผู้อื่น ในสำนักงาน ไม่เข้าไปล่วงละเมิด รหัสที่เป็นความลับของผู้อื่นมา ใช้ในการเข้าถึงด้านข้อมูล
7.1 ผู้บริหารและพนักงานพึงใช้งานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการ กระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ปี 2550
7.2 พนักงานพึงหลีกเลี่ยงการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทฯ เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมในทางศีลธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณี กฎหมาย หรือการกระทำอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคง แลปลอดภัยของประเทศ
7.3 พนักงานพึงปฏิบัติงานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ห้ามติดตั้ง และใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ลิขสิทธิ์ไม่ถูกต้องในสำนักงาน โดยเด็ดขาด
7.4 พนักงานพึงหลีกเลี่ยงกระทำการทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมดที่ก่อ ให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์
8.นโยบายการปฏิบัติต่อสังคม ชุมชน และส่วนรวม
บริษัทฯ สนับสนุนและส่งเสริมให้ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ตระหนักถึงการอยู่ร่วมกันกับชุมชนอย่างสงบสุข ไม่ทำลายสภาพแวดล้อมในชุมชน โดยมุ่งมั่นดำเนินการ ดังนี้
8.1 ส่งเสริมการสร้างงานให้กับชุมชน
8.2 ส่งเสริมการจ้างงานในชุมชนโดยการประกาศการรับสมัครงานหน้าบริษัท
8.3 รับผิดชอบและยึดมั่นในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น
8.4 สนับสนุน และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ และสร้างสรรค์ต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ
8.5 สนับสนุนแผนงานโครงการต่าง ๆ ในชุมชน ดำเนินการให้สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส เข้ามาเรียนรู้ในการทำงานเพื่อสร้างรายได้
8.6 ลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมภายนอก ด้วยการควบคุมการปล่อยของเสีย, น้ำเสีย, ก๊าซ และกากอุตสาหกรรม ให้อยู่ใน ระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐานที่ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม และชุมชน
8.7 ตอบสนองอย่างรวดเร็ว เมื่อมีเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน อันเนื่องมาจากการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
9. นโยบายด้านสุขภาพอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ในการทำงานของพนักงาน
บริษัทฯ มีการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐาน โดยให้ความสำคัญในการจัดการด้านความปลอดภัยฯ ดังนี้
9.1 บริษัทชี้บ่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจ ซึ่งครอบคลุม แหล่งกำเนิดของเสีย และมลพิษ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์
9.2 บริษัทดำเนินการตรวจวัด บันทึก ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ และรายงานผลการลดมลพิษ และปริมาณของเสีย
9.3. ปฏิบัติการป้องกันมลพิษและของเสียโดยการใช้วิธีการจัดการของเสีย ตามลำดับขั้นตอน
9.4 เปิดโอกาสให้ชุมชนรับรู้ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานการแก้ไข บรรเทาปัญหา และความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น
9.5 พัฒนาส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ และบริการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
9.6 เปิดเผยข้อมูลสู่สารธารณะเกี่ยวกับ ชนิด ปริมาณของสารเคมี วัตถุอันตรายที่ใช้ การปล่อยมลพิษออกสู่ภายนอก ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม
9.7 ไม่ใช้สารเคมีต้องห้ามตามกฎหมาย หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีต้องห้ามตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ
9.8 บริษัทให้ความสำคัญในการปฏิบัติงานของพนักงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด
9.9 จัดทำวิธีการทำงานที่ปลอดภัยให้พนักงานทุกคนทราบและตระหนักถึงความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
9.10 บริษัท สนับสนุนการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้กับพนักงานอย่างเพียงพอ
9.11 บริษัท กำหนดระเบียบการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้พนักงานปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
9.12 บริษัทคำนึงถึงความแตกต่างของพนักงาน หญิงมีครรภ์ คนพิการ แรงงานเด็ก ต่อความปลอดภัยเป็นหลัก
9.13 บริษัทให้ความสำคัญในการพัฒนาความรู้ความสามารถโดยการจัดอบรมให้พนักงานตามความเหมาะสม
9.14 รายงานการดำเนินงานด้านความปลอดภัยตามกฎหมายกำหนด
9.15 บริษัทสนับสนุนในการประหยัดพลังงาน ทุกรูปแบบเพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย หรือสูญหาย
9.16 บริษัท สนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ เช่น อนุรักษ์สัตว์น้ำ อนุรักษ์สัตย์ป่าสงวน อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
9.17 บริษัท สนับสนุนการตรวจวัดมลพิษด้วยการจัดหา จัดซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นการประหยัดพลังงาน ไม่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
9.18 ส่งเสริมการอนุรักษ์ ดิน น้ำ และระบบนิเวศต่าง ๆ อย่างยั่งยืน
10. นโยบายการติดตามดูแลให้มีการปฏิบัติ และการลงโทษ
บริษัทกำหนดให้เป็นหน้าที่ และความรับผิดชอบของกรรมการ ฝ่ายบริหาร และพนักงานทุกคนที่ต้องศึกษาทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามคู่มือจรรยาบรรณธุรกิจอย่างเคร่งครัด พนักงานผู้ใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับแนวปฏิบัติให้ข้อคำแนะนำจากผู้บังคับบัญชา สำหรับพนักงานที่กระทำการฝ่าฝืนจรรยาบรรณธุรกิจ หรือยินยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาฝ่าฝืนจรรยาบรรณ จะถูกพิจารณาลงโทษทางวินัย ซึ่งอาจรวมถึงการ เลิกจ้าง การให้ชดเชยความเสียหาย
11. นโยบายความปลอดภัยในการทำธุกิจ
เพื่อให้การประกอบธุรกิจระหว่างบริษัทฯ กับผู้จัดหาวัตถุดิบ ผู้รับเหมางาน ผู้ให้บริการขนส่ง ผู้จัดจำหน่าย ผู้ให้บริการรักษาความปลอดภัย หรือคู่สัญญา ต่างๆ ของบริษัทฯ ซึ่งต่อไปในประกาศนี้เรียกว่า “คู่ค้า” มีความปลอดภัย ไม่มีความเสี่ยงต่อเหตุอาชญากรรมหรือเหตุภัยพิบัติต่างๆ ซึ่งอาจสร้างความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อบริษัทฯ ทั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ หรือสังคมได้
ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นและเพื่อเสริมสร้างให้บริษัทฯ และคู่ค้ามีความตระหนักตื่นรู้ในเหตุดังกล่าว และปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมในเรื่องความปลอดภัยในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ บริษัทฯ ได้จัดทำนโยบายความปลอดภัยในการทำธุรกิจฉบับนี้ขึ้นมาโดยมีรายละเอียดดังนี้
-
ผู้ติดต่อประสานงานความปลอดภัยของบริษัทฯ
-
นายนพรุต นิลโคตร ผู้จัดการฝ่ายบุคคล โทรศัพท์ 02-8673278 ต่อ 54 Email Hr@abest.co.th
-
นายพงศกร คำนึง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย โทรศัพท์ 02-8673278 ต่อ 60 Email Safety@Abest.co.th
-
นายอัฐพล จันทร์ไกรลาศ ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกซ่อมบำรุง โทรศัพท์ 02-8673278 ต่อ 60 Email Safety@Abest.co.th
-
นางสาวกรรณิกา หนักตัน เจ้าหน้าที่จัดซื้อ โทรศัพท์ 02-8673278 ต่อ 71 Email Wannisa@abest.co.th